เศรษฐกิจข้าวไทยในสองทศวรรษ (in English)
อรวรรณ บุตรโส และ สมพร อิศวิลานนท์
บทความนี้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตข้าวของไทยและโครงสร้างรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการกระจายรายได้และความยากจนในช่วงปีการผลิต 2530/31 ถึง 2550/51 ทั้งนี้พบว่าแม้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด แต่ต้นทุนการการผลิตก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้ผลตอบแทนลดลง ดังนั้นการหาทางลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ทำให้ผลผลิตลดลงเป็นแนวทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จึงควรส่งเสริมวิธีปฏิบัติในการลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ทำให้ผลผลิตลดลง โดยเฉพาะการใช้เมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเคมี เมื่อพิจารณาโครงสร้างรายได้ของครัวเรือนพบว่า แหล่งรายได้จากนอกภาคเกษตรนับว่ามีความสำคัญและมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่การปลูกข้าวยังเป็นแหล่งรายได้หลักของครัวเรือนในเขตพื้นที่ชลประทาน ส่วนการกระจายรายได้มีความไม่เท่าเทียมมากขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยพบทั้งในรายได้จากข้าว รายได้จากการการเกษตรอื่นๆ และรายได้จากการรับจ้างในภาคเกษตร แต่ภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตรกรลดลง โดยในเขตพื้นที่ชลประทานอยู่ในภาวะที่ดีกว่าพื้นที่อื่นๆ
คำสำคัญ: ข้าว การกระจายรายได้ ภาวะความยากจน
จำนวนผู้เข้าชมบทคัดย่อ 4042 ครั้ง จำนวนดาวน์โหลดเรื่องเต็ม 3472 ครั้ง
|