พลวัตความเหลื่อมล้ำทางรายได้ภายใต้สมมติฐานการเลือกกลุ่มอัตลักษณ์ทางสังคม
อารยะ ปรีชาเมตตา
แนวคิดเรื่องพลวัตความเหลื่อมล้ำทางรายได้ได้รับอิทธิพลมาจากงานของ Kuznets (1955) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ความเหลื่อมล้ำจะลดลงตามระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น Piketty (2014) ได้โต้แย้งสมมติฐานของ Kuznets โดยชี้ให้เห็นว่าส่วนแบ่งรายได้และทรัพย์สินของกลุ่มคนรวยที่มีระดับรายได้อยู่ในช่วงบนสุดนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงอายุของคนรุ่นที่ผ่านมา การศึกษานี้ ได้ประยุกต์ใช้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางสังคม (social identity) กับการกระจายรายได้ (Income distribution) ตามแนวคิดของ Shayo (2009) และ Lindqvist and Ostling (2013) มาอธิบายพลวัตความเหลื่อมล้ำของไทยในสามจุดเวลาที่ถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างในเบื้องต้นนี้ คือ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง สมัยยุคล่าอาณานิคมในช่วง รัชกาลที่ 5 และ สมัยปัจจุบันที่แนวคิดทางการเมืองถูกแบ่งเป็นสองขั้ว ผลการศึกษาพบว่า พลวัตความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยที่ผ่านมาจะสอดคล้องกับแนวคิดของ Kuznets curve ที่ถูกปรับขยายให้ครอบคลุมถึงกรณีของพหุดุลยภาพ (multiple equilibria) ดังที่ Acemoglu and Robinson (2000, 2002) ได้เสนอไว้หากมีการคำนึงถึงปัจจัยเชิงสถาบันด้วย ดังนั้นดุลยภาพที่เกิดขึ้นจริงในบางจุดเวลาจึงอาจมีความเหมาะสมในลำดับชั้นที่รองลงไปเท่านั้น (sub-optimal equilibrium)
คำสำคัญ: Kuznets curve ความเหลื่อมล้ำ อัตลักษณ์ทางสังคม พหุดุลยภาพ คะแนนเสียงมัธยฐาน การกระจายรายได้
จำนวนผู้เข้าชมบทคัดย่อ 4530 ครั้ง จำนวนดาวน์โหลดเรื่องเต็ม 3282 ครั้ง
|