การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ของแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2544-2545: กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วลัยภรณ์ อัตตะนันทน์
การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ของแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2544-2545 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2544-2545 ทำให้ผู้เสพยาเสพติดลดลงจำนวน 189-198 คน และผู้ค้ายาเสพติดลดลงจำนวน15-72 คน นอกจากนี้ ผลจากการปฏิบัติงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ สามารถลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจโดยจะเพิ่มรายได้ของชุมชนตัวอย่างอันเนื่องมาจากผู้เสพติดยาเสพติดได้รับการบำบัดและมีงานทำเป็นจำนวนเงิน 2,364,390 ถึง 7,881,300 บาทต่อปี และช่วยลดมูลค่าธุรกรรมผิดกฎหมายของชุมชนตัวอย่างอันเนื่องมาจากการลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติดเป็นจำนวนเงิน 1,555,200-2,332,800 บาทต่อปี และเมื่อประเมินผลกระทบดังกล่าวนี้ในพื้นที่ทุกหมู่บ้านของจังหวัด ปรากฏว่าผลของแผนปฏิบัติการฯ สามารถเพิ่มรายได้ของทุกชุมชนในจังหวัดได้เป็นจำนวนเงิน 41,629,776-138,765,924 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 6.02-20.06 เท่าของงบประมาณแผนปฏิบัติการฯ และช่วยลดมูลค่าธุรกรรมผิดกฎหมายของทุกชุมชนในจังหวัดอันเนื่องมาจากการลดจำนวนผู้ค้ายาเสพติดเป็นจำนวนเงิน 5,377,779-8,066,669 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 0.78-1.17 เท่าของงบประมาณแผนปฏิบัติการฯ การวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการอบรมและให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเห็นความสำคัญของแผนปฏิบัติการฯ โดยการกำหนดแผนงานและการจัดสรรงบประมาณควรคำนึงถึงสภาพพื้นฐานที่การแพร่ระบาดยาเสพติด และควรเน้นแผนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษามากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการจัดตั้งหน่วยงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในระดับจังหวัด
คำสำคัญ: -
จำนวนผู้เข้าชมบทคัดย่อ 3788 ครั้ง จำนวนดาวน์โหลดเรื่องเต็ม 3484 ครั้ง
|