แนวทางการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน
รังสรรค์ ปิติปัญญา
นโยบายเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองถูกประกาศเป็นนโยบายสำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงหรือเป็นหลังอิงให้กับคนในชาติในการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่กลางปี 2540 ภายใต้แนวความคิดนี้นอกจากการผลิตแบบผสมผสานของครัวเรือนเกษตรกรแล้ว การวมกลุ่มกันทำ ธุรกิจชุมชน ซึ่ง คนในชุมชนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ในบรรดาธุรกิจชุมชนด้วยกัน ธุรกิจชุมชนทางการเงิน หรือ องค์กรการเงินชุมชน เป็นธุรกิจชุมชนรูปแรกๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันองค์กรเหล่านี้จำนวนหนึ่งประสบความสำเร็จ และสามารถแสดงบทบาทได้อย่างโดดเด่นในการให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกและชุมชนด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงได้แสดงบทบาทหรือความตั้งใจที่จะพัฒนาระบบสวัสดิการด้านต่างๆ ขึ้นในชุมชนจนหลายฝ่ายเชื่อว่า องค์กรการเงินชุมชนที่เข็มแข็ง คือศูนย์กลางหรือโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการและยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรการเงินชุมชนบางส่วนได้ร่วมมือกันในการทำกิจกรรมในลักษณะเครือขายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่กัน รวมไปถึงเพื่อขยายแนวความคิดขององค์กรออกไปสู่สาธารณชนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าสามารถขยายไปยังท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และทุกแห่งมีความเข้มแข็งแล้ว องค์กรการเงินชุมชนและเครือข่าย ก็จะไม่เป็นแต่เพียงโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนแต่ละชุมชุนเท่านั้นแต่จะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้วย
Keywords: -
View Abstract 3885 Hit(s) Download Fulltext 3954 Hit(s)
|