เกษตรกรรมไทยจะไปทิศทางไหน?
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ในอดีตเกษตรกรรมของไทยถือว่าเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นสัดส่วนสูงในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและภาคการเกษตรยังเป็นแหล่งจ้างงานใหญ่ที่สุดในประเทศ อย่างไรก็ตามสถานการณ์เกษตรกรรมของไทยในปัจจุบันกำลังลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าสินค้าเกษตรหลายรายการที่ประเทศไทยยังครองส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาดโลกหรือส่งออกเป็นอันดับหนึ่งในสิบของโลก และเกษตรกรยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่มูลค่าผลผลิตของภาคการเกษตรที่เคยเป็นผลผลิตส่วนใหญ่กลับมีสัดส่วนเหลือเพียง 1 ใน 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่านั้น เกษตรกรจำนวนมากยังอยู่ในภาวะที่ยากจน แม้ว่าสัดส่วนของประชากรภาคการเกษตรมีทิศทางที่ลดลงโดยตลอด ถึงกระนั้นครัวเรือนเกษตรก็ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามที่ดินแหล่งน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยการผลิตอื่นๆ มีอยู่อย่างจำกัด และสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมยิ่งทำให้ความจำกัดของภาคการเกษตรมีมากขึ้นประกอบกับการที่ดูเหมือนว่าภาคการเกษตรได้รับความสำคัญน้อยกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ มาโดยตลอดภาคการเกษตรของไทยจึงยังคงมีประสิทธิภาพต่ำในการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง แต่สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าเกษตรของไทยยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกก็เนื่องจากการบิดเบือนต้นทุนการผลิตของภาคการเกษตร โดยเฉพาะต้นทุนแรงงานและน้ำสำหรับการเกษตร โดยเฉพาะต้นทุนแรงงานและน้ำสำหรับการเกษตร รวมทั้งการอุดหนุนและแทรกแซงราคาของภาครัฐ ในขณะที่สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรี สิ่งนี้ได้บีบให้ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกของระบบเศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และยิ่งการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ได้ถูกนำออกมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรรมของไทยก็ยิ่งต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าในอดีตมากสถานการณ์ของภาคเกษตรของไทยจึงเป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจว่าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรหรือควรจะผลักดันไปในทิศทางใดจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวเกษตรกรเองและต่อภาพรวมของประเทศ
Keywords: -
View Abstract 3437 Hit(s) Download Fulltext 7786 Hit(s)
|