นโยบายการคลังกับภาคการเกษตรของไทย: บทสำรวจและประเมินสถานการณ์
สันติยา เอกอัคร
การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมามีจุดแข็ง (Strength) ประการสำคัญก็คือ ได้มีการนำนโยบายการคลัง (fiscal policy) มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการรักษาเสถียรภาพ และเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี โดยมีการปรับเปลี่ยนนโยบายที่สำคัญอันได้แก่ นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านงบประมาณ และนโยบายหนี้สาธารณะ ให้มีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ อย่างเหมาะสมส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงกว่าอัตราการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกและผลจากการดำเนินนโยบายด้านการคลังอย่างมีวินัย ทำให้ฐานะทางการคลังของรัฐบาลไทยมีลักษณะเกินดุลมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมาจนถึงปี 2538 แต่จุดอ่อน (weakness) ประการสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยก็คือ ประชาชนได้รับการกระจายผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างไม่เท่าเทียมกัน นั่นหมายถึงว่านโยบายการคลังไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป้าหมายด้านการกระจายรายได้อย่างมีประสิทธิผล จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุด พบว่าประชากรที่มีระดับรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนในปัจจุบัน มีอยู่จำนวนประมาณ 10 ล้านคน และร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มนี้คือ เกษตรกร รองลงมาคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในภาคการเกษตรเปรียบเทียบกับนอกภาคการเกษตรก็มีความแตกต่างกันมากขึ้น จาก 1:6.09 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1:13.29 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7
Keywords: -
View Abstract 3848 Hit(s) Download Fulltext 3706 Hit(s)
|