การประเมินผลความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการจัดรูปที่ดิน: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
บรรเทิง มาแสง
คำว่าการจัดรูปที่ดินตามความหมายที่ให้ไว้ใน พ.ร.บ.การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517 คือ การดำเนินงานพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม โดยการรวมที่ดินหลายแปลงในบริเวณเดียวกันเพื่อวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ทำการจัดระบบชลประทานและการระบายน้ำ ทำการสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นาและทำการปรับระดับพื้นที่ดิน ทั้งนี้เพื่อให้การจัดสรรน้ำชลประทานในระดับไร่นาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้การจัดรูปที่ดินยังรวมถึงการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรด้วย การที่จะดำเนินการจัดรูปที่ดินในท้องที่ใดจะต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา และที่สำคัญเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องจ่ายค่าลงทุนในการจัดรูปที่ดิน ในทางปฏิบัติ การจัดรูปที่ดินมีสองรูปแบบ คือ การจัดรูปที่ดินประเภทสมบูรณ์แบบ การจัดรูปประเภทหลังมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนน้องกว่าประเภทแรก เพราะว่าไม่มีการจัดรูปแบบแปลงลงนาใหม่ มีการปรับระดับดินเท่าที่จำเป็นจริงๆ มีคูส่งน้ำ คูระบายน้ำ และถนนที่ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนการจัดรูปที่ดินสมบูรณ์แบบ แต่จะลัดเลาะไปตามขอบเขตของแปลงนา
Keywords: -
View Abstract 3136 Hit(s) Download Fulltext 2078 Hit(s)
|