ผลตอบแทนทางสังคมของการลงทุนโดยภาครัฐในการวิจัยและพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ในภาคเกษตร: กรณีศึกษาการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด
ดารณี ธาราวัชรศาสตร์ และ เสถียร ศรีบุญเรือง
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ในอดีตที่ผ่านมาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรสามารถทำโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูก แต่ในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่อย่างเช่นในปัจจุบันซึ่งพื้นที่เพาะปลูกที่จะทำการขยายได้มีอย่างจำกัด ดังนั้น เพื่อให้มีผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจึงต้องมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเป็นสำคัญ โดยพยายามทำให้ได้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา เพื่อทำให้ได้เมล็ดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ดี มีคุณภาพและให้ผลผลิตสูงในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตโดยอาศัยการวิจัยพัฒนาดังกล่าว จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องตลอดมา ถึงแม้ว่าในอดีตที่ผ่านมานั้นจะมีโครงการวิจัยและพัฒนาหลายๆ โครงการที่ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนในรูปของเงินอุดหนุน วัสดุ อุปกรณ์ แหล่งพันธุกรรม ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ...
Keywords: -
View Abstract 3203 Hit(s) Download Fulltext 1795 Hit(s)
|